Open post
สัตว์เลี้ยง

กทม.จับมือภาคีเครือข่ายออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข

กทม.จับมือภาคีเครือข่ายออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกต่อเนื่อง

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เขตลาดกระบังว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนอ.และสำนักงานเขตลาดกระบัง ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานครได้ลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง หลังทราบผลการตรวจยืนยันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เขตลาดกระบัง จากการลงพื้นที่ร่วมกันในวันที่ 17 ม.ค.66 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 197 ตัว จับสุนัขที่สัมผัสโรคมากักดูอาการ 7 ตัว วันที่ 19 ม.ค.66 ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 22 ตัว และจับสุนัขที่สัมผัสโรคมากักดูอาการ 4 ตัว รวมทั้งวางแผนออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.66 พบสุนัขเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 4 ตัว เป็นสุนัขจากแขวงทับยาว 3 ตัว

สัตว์เลี้ยง

สำหรับสถานการณ์สัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2565 พบสุนัขเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 2 ตัวในพื้นที่เขตหนองจอก และปี 2566 พบสุนัขเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 4 ตัวในพื้นที่เขตลาดกระบัง (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.66) ที่ผ่านมา สนอ.ได้เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยพื้นที่ที่พบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในเขตหนองจอกได้ออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฯ และประสานคณะสัตวแพทยศาสตร์ เทคโนโลยีมหานคร ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 1,355 ตัว (ต.ค. – ธ.ค.65) เขตลาดกระบังออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฯ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 417 ตัว ทำหมัน 197 ตัว (ต.ค.65 – 19 ม.ค.66) อีกทั้งยังมีแผนออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้น สนอ.ยังได้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนมินทราธิราช และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุก รวมถึงประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยให้นำสัตว์เลี้ยงมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนดเป็นประจำทุกปี พร้อมแนะนำการเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบและไม่ปล่อยทิ้งสัตว์ในพื้นที่สาธารณะ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านแผ่นพับ ป้ายไวนิล เฟซบุ๊กกลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เฟซบุ๊กศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และสำนักงานเขต 50 เขต ซึ่งเป็นเครือข่ายการสื่อสารการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในชุมชน เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างทั่วถึง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัขและแมวที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนฯ ตลอดจนดำเนินโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง โดยสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และสำนักงานเขต 50 เขต ออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนฯ ในเดือนมีนาคมและกันยายนครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ

อ่านเพิ่มเติมหรือติดตาม ได้ที่นี่ >>> เม่นแคระ (Hedgehog)

Open post
สัตว์เลี้ยง

เม่นแคระ (Hedgehog)

เม่นแคระ (Hedgehog)

สัตว์เลี้ยง

เม่นแคระเป็นสัตว์หากินเวลากลางคืน หน้าตาดูน่ารักน่าเอ็นดู ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่ง ตอนกลางวันอาจจะเห็นนอนขดเป็นก้อนกลมๆ อยู่นิ่งๆ แต่เมื่อไหร่ที่พระอาทิตย์ตกดิน น้องเม่นตัวกลมจะออกมาวิ่งเล่นให้วุ่น ที่สำคัญน้องเม่นแคระไม่สลัดขน จึงปลอดภัยต่อคนเลี้ยงครับ

⭐️ลักษณะนิสัย : เม่นแคระเป็นสัตว์สันโดษ ขี้ระแวง หากินตัวเดียวในตอนกลางคืน กลางวันนอน มีนิสัยชอบอยู่ตัวเดียว หวงอาณาเขต บริเวณหากินของตัวเอง ดังนั้นไม่แนะนำให้เลี้ยงเม่นแคระมากกว่า 1 ตัวในพื้นที่เลี้ยงเดียวกัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เม่นแคระต่อสู้ กัดกัน เพื่อแย่งชิงอาณาเขตบริเวณในการหาอาหารได้ครับ

⭐️การให้อาหาร : โดยส่วนใหญ่เม่นแคระจะกินอาหารแมว และพวกหนอนนก ไข่ต้ม และผักชิ้นเล็กๆ สำหรับปริมาณถ้าเป็นอาหารแมวควรให้ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อวันก็พอครับ

⭐️วิธีการเลี้ยง : กรงของเม่นแคระควรจะกว้างพอสมควร ขนาดของกรงควรอยู่ที่ 18 x24 นิ้วขึ้นไป รองกรงด้วยขี้เลื่อย และควรจะมีของเล่น อย่างเช่น วงล้อ ให้น้องเม่นแคระได้วิ่งเล่นด้วย สำหรับการทำความสะอาดให้เปลี่ยนขี้เลื่อย 2-3 วันต่อครั้ง

⭐️อายุโดยเฉลี่ย : ประมาณ 3-5 ปี ครับ

💥ข้อควรระวัง : อาหารที่ไม่ควรให้ เช่น ถั่วต่างๆ ผลไม้อบแห้ง เนื้อสัตว์ดิบ องุ่น ลูกเกด หัวหอม ขนมปัง อะโวคาโด และผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ซี่งอาจจะทำอันตรายต่อน้องเม่นแคระได้ครับ

Scroll to top